

จากวันนั้นบนเวทีในนามของ CLASH สู่ปัจจุบันของ สุ่ม สุกฤษ ศรีเปารยะ ( หรือหลายท่านอาจจะจำได้ในภาพลักษณ์ของ สุ่ม วง Clash, วง Shade ) นั้นเป็นอย่างไร มาร่วมหาคำตอบของดนตรีในนิยามของคุณสุ่ม กันครับ

Punn: ดนตรีมีผลและมีบทบาทอย่างไรในช่วงชีวิตที่ผ่านมา
Zummy : ถ้าเอาแต่เด็กๆเลยอยู่กับดนตรีมาตลอด ด้วยความที่คุณพ่อเป็นนักดนตรี เราได้ยินเสียงดนตรีตั้งแต่ยังไม่ได้ความ อยู่ที่บ้านพ่อจะมีแผ่นเสียง Vinyl จะฟังเป็น Jazz, Big Band เสียงดนตรีที่เข้ามา
ในหูเราตลอด น่าจะเข้าหูมาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่เลยนะ จนโตขึ้นมาได้เรียนเปียโน ซึ่งจริงๆตอนนั้นเราไม่ชอบ เราแค่ไปลองเล่นเปียโนแล้วสนุกแต่ไม่ได้อยากจะเรียน เลยเป็นการโดนจับให้เรียนมากกว่า เรียนไปแล้วเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา มาเข้าใจจริงๆตอนมัธยมมากกว่า ตอนนั้นอยู่วงโยฯ ได้ฝึกและเรียนรู้จริงๆแล้วเกิดชอบ และเริ่มฟังเพลง Rock, สตริง ยุคนั้นเป็นยุค Alternative ถ้าจำได้จะมีอย่างวง Modern Dog เราไปตามกระแสนะ หลังจากนั้นได้เริ่มลองเล่นเบส ได้ทำวงกับเพื่อน ได้ฝึกซ้อม ศึกษาอย่างดนตรีจริงจังก็ไปลุยไปกับเพื่อน ผมว่าทุกคนน่าจะรู้จักแหละ ตอนนั้นเป็น วง Lucifer ก่อน (ประกวด HOT WAVE MUSIC AWARD) แล้วก็มาเปลี่ยนชื่อเป็นวง Clash จนได้ออกอัลบัมแรกสังกัด GMM Grammy มีเพลงดังๆอย่างเช่นเพลง กอด, รับได้ทุกอย่าง จนได้พัฒนามาเป็นอาชีพหลัก

Punn : ในมุมของถ้าไม่ใช่อาชีพ ดนตรีมีบทบาทอะไรอีกไหมนอกจากการสร้างรายได้
Zummy : ว่ากันตรงๆดนตรีก็ไม่ได้เอาทำอะไรอย่างอื่น ณ ตอนนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เราเรียนรู้ประสบการณ์
ได้เปิดโลก เจออะไรมากขึ้นได้ไปที่ต่างๆ ถ้าเอาแค่ง่ายๆได้ไปต่างประเทศ ได้เที่ยว ได้ทำงานกับชาวต่างชาติ หรือในแง่นึงที่ได้รู้จักคนมากขึ้น ได้เข้าใจธุรกิจ ถึงแม้เราจะไม่ได้เรียนรู้ธุรกิจได้อย่างเต็มที่ แต่ได้เรียนรู้ไปในทางอ้อม “สุดท้ายงานศิลปะดนตรี มันก็จะมีเรื่องของธุรกิจเข้ามา มีต้นทุน ขาดทุน กำไร” เราก็อ๋อ เป็นแบบนี้นี่เอง

Punn : จนถึงจุดที่หักเห การเปลี่ยนบทบาทที่สำคัญที่สุด จากผู้เล่นมาเป็นผู้ฟัง
Zummy : ถ้าในมุมเรา เรามองว่าแบบถ้าพูดเหมือนเป็นความภูมิใจนิดๆ เราก็ประสบความสำเร็จระดับหนึ่งนะ เราไม่ได้มองว่าที่เราประสบความสำเร็จเราเหนือกว่าใคร เราไม่ได้เป็นมาตราฐานความสำเร็จ แต่ในมุมที่
ตัวเราเองมองกลับไป คือเราได้ทำในสิ่งที่เราชอบได้เล่นดนตรีได้เล่นคอนเสิร์ตได้คิดเพลงที่เราอยากจะคิด อยากจะเล่นและซ้อมอยู่ในระดับที่เราพอใจกับมันและก็เหมือนกับการอิ่มตัวประมาณนึง ต้องบอกว่ามีอย่างนึงที่เรารู้สึกว่า สิ่งที่เราดำเนินตามความฝัน สิ่งที่อยากทำ พอถึงจุดนึงที่เราทำได้ตามความฝันนั้น เราก็รู้สึกว่า
“มันก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดซะทุกอย่าง” มีมีมอันนึง มาจากหนังเรื่อง Shooter ที่พูดว่า “ไงหละจ่า โลกมันไม่ได้เป็นอย่างที่คิดใช่ไหมหละ” เราอะชอบมีมนี้มาก มันโครตจริงเลยหว่ะ วงการดนตรีมันเป็นแบบนี้แหละ “โลกมันไม่ได้เป็นอย่างที่คิดมันจริงมากๆเลย” จริงๆแล้วทุกสังคม ทุกวงการ มีด้านสว่าง ด้านมืด ด้านเทา เราไม่รู้หรอกว่าคำว่าด้านมืดคือยังไง มันมีสิ่งที่เราได้เจอบ้างแล้วเราก็รู้สึกว่า เออเนี่ยคือด้านมืดหว่ะ แต่ว่าเราก็ได้เข้าไปสัมผัสบ้าง เรามั่นใจว่าตัวเราก็ไม่ได้ไปอยู่ในวังวนด้านมืดนั้นๆ ส่วนใหญ่มันเป็นความขาวกับเทามากกว่า ถ้าจะยกตัวอย่างง่ายๆ พอสุดท้ายแล้ว สิ่งที่เรารัก ตามความฝัน พอสุดท้ายมาอยู่ในลักษณะอาชีพการงาน มันมีต้นทุนกำไรเข้ามา มันทำให้เราเริ่มคิดว่า มันไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดนะ ทำในสิ่งที่เราชอบแล้วมันสามารถประคับประคองอะไรหลายๆอย่างได้ ค่าใช้จ่ายโน้นนี่นั่น ทำกำไรให้ค่ายเพลง แม้แต่ตัวเราเอง ไม่สามารถที่จะดำเนินไปตามความต้องการของเราได้ 100%

Punn : การที่กลับมาในจุดเริ่มก็ดีที่สุดไหมครับ
Zummy : เหมือนกับแบบมีความสุขกับการได้ฟังดนตรี หรือเล่นดนตรีบ้าง คือคำว่าเล่นดนตรีเนี่ยมีคนถามครับว่า พี่เลิกเล่นดนตรีหร๋อ? เราก็ตอบ เปล่าไม่ได้เลิก แต่การเล่นดนตรีมันคือ การมีเครื่องดนตรีซักชิ้นนึง ว่างๆอยู่บ้านก็หยิบขึ้นมาเล่น อันนี้คือการเล่นดนตรี คือเรามีความสุขกับการแค่ได้ฟัง เราไม่ได้ยินวงนี้มานาน ลูกเบสมันเท่ ก็หยิบเบสมาแกะหน่อย เล่นได้ก็จบ ไม่ได้วิเคราะห์อะไรต่อ อย่างที่ผ่านมาแบบคนดนตรีที่ทำงานดนตรีจะคิดเหมือนเราหรือเปล่านะ เวลาเราฟังเพลง เวลาเราเจออะไรก็ตาม ซาวน์ต่างๆ วงใหม่ๆ ก็จะมีการวิเคราะห์ว่าไอ่นี่เป็นแบบนั้น ไอ่นั้นเป็นแบบนี้ คอร์ดแบบนี้ มันก็สนุกดี แต่ก็จะมีความรู้สึกแบบทำยังไงถึงจะได้แบบนั้น มีความอยากได้ก็เกิดกระบวนการวิเคราะห์ค้นหา ที่ผ่านมาถามว่าสนุกไหม ก็สนุกนะ แต่ว่าสุดท้าย
มันก็ยากที่ออกมาอย่างที่เราต้องการ สุดท้ายมันออกมาได้อย่างที่เราต้องการเนี่ยโดยไม่ใช่ลอกเขานะ เป็นแค่แรงบันดาลใจปุ๊บ แล้วไม่ได้ผลตอบรับอย่างที่ควรจะเป็น เราไม่ได้ว่าเราจะต้องได้อันดับหนึ่ง ยอดขายดี
ดังพลุแตกอะไรแบบนี้ ทุกคนทำงานมาก็ต้องการคนยอมรับแหละ แล้วพอมันไม่ได้ เราก็เฟลเนอะ
พอเป็นบทบาทมาเป็นคนฟังอย่างเดียวเนี่ย เจออะไรใหม่ๆอะไร modern แล้วเราก็เพลินโดยไม่ต้องคิดอะไรตามเลย วงนี้แม่งเจ๋ง ฟัง จบ ผ่าน พอ อาจจะมีบ้างที่ เอ้ย มือเบสชื่ออะไรนะ เขาใช้อะไร มือกีตาร์ชื่ออะไร นักร้องชื่ออะไร มันก็จะแบบแค่นั้น เขาเป็นแนว Djent 8 สาย จูน Drop A อะไรแบบนี้ ก็รู้แค่นี้ว่าทำอะไร
ถึงได้แบบนี้ แต่ไม่ได้รู้สึกว่ามีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ก็คือบทบาท ณ ตอนนี้ที่เราพอใจและมีความสุขกับการได้เป็นผู้บริโภค

Punn : เหมือนเรากลับไป Back to Basic เหมือนวันแรกที่เริ่มได้ยินดนตรี แค่ฟังแล้วมีความสุข
Zummy : และการได้เล่นบ้างแต่นิยามการเล่นของเราคือเอาเบสมาวางไว้เฉยๆ แล้วมองก็มีความสุขแล้ว ชุดความคิดมันเปลี่ยนไปตามสิ่งที่เราเจอมา
Punn : รบกวนพี่สุ่มฝากอะไรถึงน้องๆที่กำลังตามความฝันครับ
Zummy : ถ้าให้ฝากพี่ก็คงต้องพูดเหมือนในมีม สุดท้ายแล้วมันจะไม่เป็นอย่างที่น้องคิด 100% หรอก มันจะมีด้านเสียด้านแย่บ้าง อย่างขอพูดถึงวงดนตรีละกันนะ ต้องยอมรับว่าเด็กรุ่นใหม่ความสามารถ การสร้างสรรค์มันดีมา ขอพูดเลยว่า ถ้าเทียบกันในวัยเดียวกันเขาทำได้ดีกว่าเราเยอะเลย แต่ก็นั้นแหละ ธุรกิจดนตรี ในปัจจุบันที่เขาพบเจอมันจะเป็นในแง่อยู่บน Streaming ไม่มีเทป ซีดีละ มันจะออกมาเป็นแบบไหน ดำเนินทางไหน ทุกวันนี้มันเร็ว พัฒนาเร็วมากจนน่าตกใจ ล่าสุดได้ยินว่า The Beatle จะให้ AI สร้างเสียง John Lennon ซ่อมเสียงอะไรแบบ มันเป็นแบบนี้ไปแล้ว เราก็ไม่รู้ว่าเด็กที่จะทำตามความฝันว่าคุณจะต้อง ไปเจออะไรบ้าง แต่ก็ไอ่การที่เราบอกว่าจะไม่ได้เป็นอย่างที่น้องๆคนหรอก มันไม่ใช่เราจะกระชากความฝัน ลงนะ แต่เตรียมใจไว้บ้าง มองมุมหลายๆมุม ถ้าอยากจะดำเนินอาชีพนี้จริงๆ ยุคนี้น่าจะต้องเหนื่อยกว่า ยุคพี่เยอะ ต้องเรียนรู้มากขึ้น ขยันมากขึ้น สู้ๆ ถ้ามันไม่ได้เป็นตามที่หวังเราก็สามารถหยุดพักแล้ว เริ่มใหม่ได้ ไม่เป็นไร
และนี่คือบทสัมภาษณ์ของพี่สุ่ม สุกฤษ ศรีเปารยะ ติดตามผลงานของพี่สุ่มได้ในช่องทาง Facebook page Zummy the Cyclist และ ยูทูป Zummy The Cyclist
หากคุณผู้ชมท่านใดอยากให้เราไปสัมภาษณ์ศิลปินท่านใดอีก แนะนำกันเข้ามาได้นะครับ