MRM

     “แพร” วนิตนาถ วีรกิตติ นักร้องประสานเสียงผู้อยู่เบื้องหลังของศิลปินระดับแนวหน้าทั้งในห้องบันทึกเสียงและในคอนเสิร์ตตามเวทีต่างๆ อาทิเช่น Polycat, TaitosmitH, Potato, Three Man Down และ Greasy Cafe แถมยังมีดีกรีเป็นถึงอาจารย์พิเศษที่วิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล อีกด้วย

MRM

Q: จุดเริ่มของเส้นทางดนตรี ?
A: เริ่มมาจากคุณพ่อกับคุณแม่เขาเห็นถึงความสำคัญของดนตรีเลยให้แพรเริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่อายุประมาณ 4 ขวบที่สถาบันแห่งหนึ่งค่ะ

Q: แล้วสิ่งที่ทำให้สนใจในดนตรี ?
A: แพรมีหลักการความคิดส่วนหนึ่งนั่นคือ “ดนตรีและภาษาคือสิ่งที่เป็นพื้นฐานในการต่อยอดสู่อนาคต” ทำให้แพรเริ่มสนใจในเรื่องของดนตรีนี้ขึ้นมาก

MRM

Q: ปัจจุบันคุณแพรมีผลงานอะไรบ้าง ?
A: ปัจจุบันแพรเป็นคอรัสหรือนักร้องประสานเสียง ที่ทำงานอยู่เบื้องหลังศิลปินทั้งในห้องอัดและคอนเสิร์ต และก็มีบ้างที่ชอบจะอัดเพลงโคเวอร์ลงตามโซเชี่ยลต่างๆ 

Q: วิธีการทำงานและปัญหาของนักร้องประสานเสียงหรือคอรัส ?
A: แพรจะฟังในเสียงที่แพรต้องประสานก่อนเริ่มทำงาน หากว่ามีตรงไหนรู้สึกติดขัดแพรก็จะใช้ทฤษฏีดนตรีเข้ามาในการวางแพลนเขียนเพิ่มเติมว่าควรจะแก้ไขยังไง ไปในลักษณะและทิศทางไหน แต่ที่แพรยึดเป็นหลักการแก้ปัญหาก็คือ “ทฤษฏีไม่ใช่ไม่มีความสำคัญเลย แต่เป็นสิ่งที่เอามาช่วยเหลือ ณ เวลาที่นึกไม่ออกว่า ณ ที่ตรงนั้นควรกำหนดทิศทางของดนตรีไปในลักษณะใด” เพราะแต่ก่อนแพรเองก็เลือกที่จะใช้แต่สัญชาตญาณจนช่วงหลังมานี้เริ่มทำความเข้าใจได้ว่านักประพันธ์ต่างๆ นั้นใช้วิธีคิดแบบไหน จึงออกมาเป็นทฤษฏีดนตรี หรืออีกนัยหนึ่งนั้นทฤษฏีอาจจะเป็นสูตรสำเร็จที่บอกเล่าถึงเรื่องราวของอดีต

MRM

Q: ดนตรีและภาษาคือสิ่งที่ต่อยอดสู่อนาคต ?
A: อย่างที่แพรพูดไว้ว่า “ดนตรีและภาษาคือสิ่งที่เป็นพื้นฐานในการต่อยอด” เพราะการที่เด็กได้ฟัง และซึมซับกับสิ่งที่ได้ยินได้เห็นมาบ่อยๆ จะสามารถทำให้เด็กๆ มีความสนใจในด้านดนตรีมากยิ่งขึ้น และยังสามารถได้ยินในเสียงต่างๆ มากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนดนตรี แถมแพรยังได้ยินมาว่าการที่ให้เด็กเรียนอะไรก็ได้ในวัย 10 ขวบ จะปลูกฝังสิ่งนั้นให้กับเด็กได้อย่างไม่รู้ตัว

Q: หากมีนวัตกรรมบางอย่างที่จะช่วยให้เด็กมีโอกาสเข้าถึงดนตรีได้ง่ายขึ้นจะส่งผลต่อวงการดนตรีของพวกเราอย่างไร?
A: หากทำให้เด็กๆ มีโอกาสได้มากขึ้น เด็กๆ ก็จะเห็นว่าดนตรีนั้นเป็นอย่างไร และจะทำให้เด็กๆ มีทักษะในการเล่นดนตรีมากขึ้นไปอีก เพราะต้องยอมรับจริงๆ ว่าเด็กๆ ที่เรียนดนตรีจริงจังนั้นส่วนมากมาจากครอบครัวที่มีกำลังในการส่งเสริมกิจกรรมนี้ และมาตรฐานของวงการดนตรีก็จะยกระดับขึ้นไปอีกขั้น

Q: การเรียนแบบ Gamification น่าสนใจไหม ?
A: มันน่าสนใจอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น การสอนแบบ Dalcroze (ดาลโครซ) เองก็เน้นกิจกรรมในเด็กเล็กมากกว่า ไม่ได้ให้เด็กเล่นซะทีเดียวแต่ด้วยการค่อยๆปลูกฝังความเข้าใจในดนตรีจากการได้ยิน ค่อยๆพัฒนาเป็นการเข้าจังหวะ และต่อด้วยการเล่น จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

     ก็จบกันไปแล้วนะกับบทความ MASTERING MUSIC #1
Prayer Weerakitti
หรือคุณแพร วนิตนาถ วีรกิตติ กับจุดเริ่มต้นเส้นทางดนตรี และข้อคิดหลายๆ ด้านเกี่ยวกับดนตรี อาจจะช่วยทำให้เพื่อนๆ เห็นว่าปลายทางของการเรียนดนตรีนั้น เป็นไปในทิศทางใดได้บ้าง เป็นกำลังใจให้นะครับ

ช่องทางการติดตามคุณแพร

Instagram:clairebear4250 Tiktok:@prayeryeryer

MRM

     “แพร” วนิตนาถ วีรกิตติ นักร้องประสานเสียงผู้อยู่เบื้องหลังของศิลปินระดับแนวหน้าทั้งในห้องบันทึกเสียงและในคอนเสิร์ตตามเวทีต่างๆ อาทิเช่น Polycat, TaitosmitH, Potato, Three Man Down และ Greasy Cafe แถมยังมีดีกรีเป็นถึงอาจารย์พิเศษที่วิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล อีกด้วย

MRM

Q: จุดเริ่มของเส้นทางดนตรี ?
A: เริ่มมาจากคุณพ่อกับคุณแม่เขาเห็นถึงความสำคัญของดนตรีเลยให้แพรเริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่อายุประมาณ 4 ขวบที่สถาบันแห่งหนึ่งค่ะ

Q: แล้วสิ่งที่ทำให้สนใจในดนตรี ?
A: แพรมีหลักการความคิดส่วนหนึ่งนั่นคือ “ดนตรีและภาษาคือสิ่งที่เป็นพื้นฐานในการต่อยอดสู่อนาคต” ทำให้แพรเริ่มสนใจในเรื่องของดนตรีนี้ขึ้นมาก

MRM

Q: ปัจจุบันคุณแพรมีผลงานอะไรบ้าง ?
A: ปัจจุบันแพรเป็นคอรัสหรือนักร้องประสานเสียง ที่ทำงานอยู่เบื้องหลังศิลปินทั้งในห้องอัดและคอนเสิร์ต และก็มีบ้างที่ชอบจะอัดเพลงโคเวอร์ลงตามโซเชี่ยลต่างๆ 

Q: วิธีการทำงานและปัญหาของนักร้องประสานเสียงหรือคอรัส ?
A: แพรจะฟังในเสียงที่แพรต้องประสานก่อนเริ่มทำงาน หากว่ามีตรงไหนรู้สึกติดขัดแพรก็จะใช้ทฤษฏีดนตรีเข้ามาในการวางแพลนเขียนเพิ่มเติมว่าควรจะแก้ไขยังไง ไปในลักษณะและทิศทางไหน แต่ที่แพรยึดเป็นหลักการแก้ปัญหาก็คือ “ทฤษฏีไม่ใช่ไม่มีความสำคัญเลย แต่เป็นสิ่งที่เอามาช่วยเหลือ ณ เวลาที่นึกไม่ออกว่า
ณ ที่ตรงนั้นควรกำหนดทิศทางของดนตรีไปในลักษณะใด” เพราะแต่ก่อนแพรเองก็เลือกที่จะใช้แต่สัญชาตญาณจนช่วงหลังมานี้เริ่มทำความเข้าใจได้ว่านักประพันธ์ต่างๆ นั้นใช้วิธีคิดแบบไหน จึงออกมาเป็นทฤษฏีดนตรี หรืออีกนัยหนึ่งนั้นทฤษฏีอาจจะเป็นสูตรสำเร็จที่บอกเล่าถึงเรื่องราวของอดีต

MRM

Q: ดนตรีและภาษาคือสิ่งที่ต่อยอดสู่อนาคต ?
A: อย่างที่แพรพูดไว้ว่า “ดนตรีและภาษาคือสิ่งที่เป็นพื้นฐานในการต่อยอด” เพราะการที่เด็กได้ฟัง และซึมซับกับสิ่งที่ได้ยินได้เห็นมาบ่อยๆ จะสามารถทำให้เด็กๆ มีความสนใจในด้านดนตรีมากยิ่งขึ้น และยังสามารถได้ยินในเสียงต่างๆ มากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนดนตรี แถมแพรยังได้ยินมาว่าการที่ให้เด็กเรียนอะไรก็ได้ในวัย 10 ขวบ จะปลูกฝังสิ่งนั้นให้กับเด็กได้อย่างไม่รู้ตัว

Q: หากมีนวัตกรรมบางอย่างที่จะช่วยให้เด็กมีโอกาสเข้าถึงดนตรีได้ง่ายขึ้นจะส่งผลต่อวงการดนตรีของพวกเราอย่างไร?
A: หากทำให้เด็กๆ มีโอกาสได้มากขึ้น เด็กๆ ก็จะเห็นว่าดนตรีนั้นเป็นอย่างไร และจะทำให้เด็กๆ มีทักษะในการเล่นดนตรีมากขึ้นไปอีก เพราะต้องยอมรับจริงๆ ว่าเด็กๆ ที่เรียนดนตรีจริงจังนั้นส่วนมากมาจากครอบครัวที่มีกำลังในการส่งเสริมกิจกรรมนี้ และมาตรฐานของวงการดนตรีก็จะยกระดับขึ้นไปอีกขั้น

Q: การเรียนแบบ Gamification น่าสนใจไหม ?
A: มันน่าสนใจอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น การสอนแบบ Dalcroze (ดาลโครซ) เองก็เน้นกิจกรรมในเด็กเล็กมากกว่า ไม่ได้ให้เด็กเล่นซะทีเดียวแต่ด้วยการค่อยๆปลูกฝังความเข้าใจในดนตรีจากการได้ยิน ค่อยๆพัฒนาเป็นการเข้าจังหวะ และต่อด้วยการเล่น จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ก็จบกันไปแล้วนะกับบทความ MASTERING MUSIC #1 Prayer Weerakitti หรือคุณแพร กับจุดเริ่มต้นเส้นทางดนตรี และข้อคิดหลายๆ ด้านเกี่ยวกับดนตรี อาจจะช่วยทำให้เพื่อนๆ เห็นว่าปลายทางของการเรียนดนตรีนั้น เป็นไปในทิศทางใดได้บ้าง เป็นกำลังใจให้นะครับ

ช่องทางการติดตามคุณแพร
Instagram:clairebear4250 Tiktok:@prayeryeryer 

Contact Us